วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

สิ่งที่ควรคิดก่อนปลูก

  การปลูกพืชผักสวนครัวแบบไร้สารพิษนั้น เกษตรกรมีความจำเป็นที่จะต้องทราบถึงแนวทางและเทคนิควิธีในการปลูกผักปลอดสารพิษเพิ่มมากขึ้น เพราะการบริโภคผักที่มีวัตถุมีพิษ
ตกค้างอยู่เกินค่าปลอดภัยนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาคือ การได้รับสารพิษที่สะสมอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เกิดอาการในระบบต่าง ๆ ขึ้นได้แก่ การทำลายระบบประสาทระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบขับถ่ายของร่างกายทั้งนี้เนื่องจากการปลูกผักปลอดสารพิษมีขั้นตอนในการปลูกที่ยุ่งยากมากขึ้นดังนั้นเกษตรกรควรทราบถึงปัจจัยเบื้องต้นที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องการทำสวนผัก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักสวนครัว ปลูกผักทั่วไป หรือปลูกผักปลอดสารพิษ นั้นก็คือ ลักษณะพื้นที่ขนาดของพื้นที่ แหล่งน้ำของพืช แรงงานภูมิอากาศการคมนาคม ความต้องการของตลาด ระบบการปลูกพืช และเมล็ดพันธุ์พืช อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชผักที่ปลอดสารพิษนั้นย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมทั้งมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปราศจากมลพิษ
 การปลูกผักปลอดสารพิษ ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงก่อนที่เกษตรกรจะลงมือสร้างสวนผักมีอยู่หลายประการด้วยกันซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการประสบผลสำเร็จเบื้องต้นปัจจัยเหล่านั้นได้แก่ 
          1. ลักษณะพื้นที่ พื้นที่ที่เหมาะสมในการทำสวนผัก ความเป็นพื้นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึงระบายน้ำได้สะดวกและเป็นที่โล่งแจ้งพบพืชผักต้องการ แสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จึงจะเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนั้นดินก็ควรจะเป็นดินดิบ อุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารเพียงพอและมีลักษณะร่วนซุย ดินที่เป็นดินเหนียวหนักอย่างบริเวณกรุงเทพฯ ก็อาจปรับปรุงให้เหมาะแก่การปลูกผักได้โดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปูนขาว เพื่อช่วยให้ดินร่วนดีขึ้น
           2. ขนาดของพื้นที่ ขนาดของพื้นที่ทำสวนผักขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเกษตรกร หากต้องการปลูกผักสวนครัวก็ใช้พื้นที่บริเวณบ้านได้ แต่ถ้าจะปลูกเพื่อการค้าหรือปลูกเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องใช้พื้นที่มากขึ้นและต้องมีการวางแผนการปลูกพืชที่ดีด้วย
         3. แหล่งน้ำพืช ผักเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ เพราะเป็นพืชอายุสั้นและมีรากตื้นน้ำจะนับว่ามีความจำเป็นต่อการปลูกผักมาก พื้นที่ที่ปลูกผักจึงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งสามารถให้น้ำได้พอเพียงตลอดอายุของพืชผัก
          4. แรงงาน แรงงานนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากในสวนผักขนาดเล็ก อาจจะใช้แรงงานในครอบครัวได้ แต่สวนผักขนาดใหญ่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก บางครั้งจึงอาจมีปัญหาถ้าขาดแรงงานกะทันหัน เพราะงานบางอย่างไม่สามารถใช้เครื่องทุ่นแรงทำแทนได้ เช่น การเตรียมต้นกล้า การถอนแยก ตลอดจนการเก็บเกี่ยว เป็นต้น แต่ถ้ามีการวางแผนเกี่ยวกับแรงงานให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้ปัญหาเรื่องแรงงานก็จะหมดไป
          5. ภูมิอากาศ อุณหภูมิก็เป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกพืช ถ้าเราเลือกปลูกพืชไม่เหมาะสมกับภูมิอากาศมาปลูกก็จะไม่ได้ผล เช่น ผักที่มีลักษณะนิสัยชอบอากาศเย็น เมื่อนำมาปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนก็ย่อมไม่ได้รับผลผลิต
          6. การคมนาคม สวนผักที่ปลูกเป็นการค้าควรอยู่ในแหล่งที่การคมนาคมสะดวก เพื่อที่จะได้ขนส่งผลผลิตออกไปจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว ผักจะสดไม่ชอบความซ้ำมาก ทำให้ขายได้ราคา
          7. ตลาด ควรปลูกผักให้ตรงกับความต้องการของตลาด ทั้งชนิดผักปริมาณและคุณภาพ เพราะจะทำให้ขายผลผลิตได้ในราคาดี หากเกษตรกรไม่รู้ความต้องการของตลาดหรือปลูกผักไม่ตรงตามที่ตลาดต้องการก็จะขายไม่ได้ราคา หรือบางครั้งอาจจะขายได้ไม่คุ้มกับทุนที่ลงไป
           8. ระบบการปลูกพืช การวางระบบปลูกพืชว่าจะปลูกอะไร ช่วงไหน จะช่วยให้ใช้พื้นที่ปลูกได้อย่างคุ้มค่า แต่ทั้งนี้ก็ต้องนึกถึงปัจจัยหลายประการมาประกอบกันด้วย เช่น ฤดูกาล ชนิดของผัก การปฏิบัติดูแลรักษา สภาพพื้นที่และคุณภาพผลผลิตที่ตลาดต้องการ
            9. เมล็ดพันธุ์พืช ส่วนใหญ่แล้วการปลูกผักเป็นการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ ดังนั้นถ้าเมล็ดพันธุ์ดีก็จะทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดและได้ผลผลิตสูงอีกด้วย
          การบริโภคผักที่มีวัตถุมีพิษตกค้างอยู่เกินค่าปลอดภัย ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาคือ การได้รับสารพิษที่สะสมอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เกิดอาการในระบบต่าง ๆ ขึ้นได้แก่ การทำลายระบบประสาทระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบขับถ่ายของร่างกาย จะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยและจำนวนผู้ตายที่เกิดจากการได้รับสารพิษเพิ่มมากขึ้นกล่าวคือในปี พ.ศ. 2531 มีจำนวนผู้ป่วยจากสารพิษทางการเกษตร 4,234 ราย และเสียชีวิต 34 ราย พอถึงปี พ.ศ. 2532 มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 5,348 ราย ได้เสียชีวิต 39 ราย และจากสถิติอัตราการป่วย อัตราการตายพบว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ภายหลังปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมาอัตราการป่วยลดน้อยลงแต่ในขณะเดียวกันอัตราการตายและอัตราการป่วยตายปรับเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีการควบคุมการนำเข้าและการใช้สารพิษได้รับกุมมากขึ้น รวมทั้งการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่เนื่องจากอัตราการป่วยตายเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าโรคที่เกิดจากสารพิษยังมีความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง เดี๋ยวนี้ใครๆก็หันมาใส่ใจสนใจดูแลสุขภาพของตัวเอง และคำนึงถึงสุขภาพของคนอื่นด้วย เพราะการปลูกผักสวนครัวเชิงพาณิชย์ เน้นการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดสารตกค้างในพืชผักที่เราบริโภคเข้าไปทุกวันๆ เกิดการสะสมเข้าสู่ร่างกายวันละเล็กวันละน้อยค่อยๆซึมซับไปทีละนิดทีละหน่อย จึงอยากให้ทุกคนหันมาเลือกบริโภคผลผลิตจากธรรมชาติปลอดสารเคมีหรือเน้นการปลูกพืชผักสวนครัวระบบอินทรีย์ สร้างแหล่งอาหารสีเขียวภายในนั้นโดยใช้พื้นที่ว่างบริเวณตัวบ้านรอบๆบ้าน เช่นบริเวณระเบียง บริเวณข้างๆบ้านให้เป็นสวนครัวขนาดมินิมากประโยชน์ ใช้ได้กับบุคลากรทั่วไป ชาวไร่ ชาวสวน เกษตรกรหลังจากว่างเว้นจากการทำนาในช่วงฤดูแล้งนี้ นอกจากเราจะมีผักสดๆไว้ทำอาหาร ผักบางชนิดยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพร่างกายคนเรา ช่วยประหยัดเงิน ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยลดอุณหภูมิโลกร้อนได้ ช่วยสร้างความสดชื่น และที่สำคัญผักสวนครัวใช้ตกแต่งบ้าน ทำให้ได้ภูมิทัศน์ที่สวยงามในเวลาเดียวกัน